Garmin ช่วยชีวิตชายวัยกลางคนจากภาวะหลอดเลือดอุดตัน

Garmin Descent Mk1 คอมพิวเตอร์ดำน้ำ GPS ช่วยชีวิตชายวัยกลางคนจากภาวะหลอดเลือดอุดตัน ให้ไปพบแพทย์ได้ทันเวลาด้วยฟีเจอร์ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ (Hear Rate Monitoring)

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2022 ที่ผ่านมา John Zembrodt ผู้ใช้งาน Garmin Descent Mk1 ได้สวมสมาร์ทวอทช์เพื่อไปดำน้ำที่เกาะโคซูเมล ประเทศแม็กซิโก พร้อมกับรีวิวประสบการณ์การใช้งานที่น่าตื่นเต้นว่า “Garmin ของผมช่วยชีวิตผมไว้” เพราะเขารู้ในทันทีว่าควรจะไปพบแพทย์หลังจากสมาร์ทวอทช์แจ้งเตือนว่าอัตราการเต้นของหัวใจของเขาสูงกว่าปกติ

“แพทย์ประจำตัวของผมบอกว่าตอนนั้นผมมีเวลาไม่ถึงหกเดือนก่อนที่อาการหัวใจวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้น” John กล่าว “การอุดตันเกิดขึ้นในหลอดเลือดหัวใจ แพทย์เรียกการอุดตันชนิดนี้ว่า Widowmaker และบอกว่ามันมักจะไม่แสดงอาการ แต่จะเกิดขึ้นแบบฉับพลันซึ่งถือว่าผมโชคดีมากๆ ที่สังเกตเจอทันเวลา”

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาขณะที่ John กำลังดำน้ำสกูบาอยู่ที่เกาะโคซูเมล เขาก็รู้สึกว่าหัวใจของเขาเต้นแรงมากแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน “นั่นเป็นการดำน้ำครั้งแรกของผมในวันนั้น และเมื่อผมดำลงไปถึงระดับความลึก 100 ฟุต ผมก็รู้สึกว่าหัวใจของผมเต้นแรงมากแบบที่ผมไม่เคยรู้สึกมาก่อน เรียกได้ว่าเต้นแรงแบบค่อนข้างน่ากลัวเลยทีเดียว แต่หลังจากนั้นไม่กี่นาทีอาการนั้นก็หายไป ผมเลยคิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไร” หลังจากดำน้ำครั้งแรกเสร็จ เขาก็ขึ้นมาพักบนผิวน้ำ ไม่เจอปัญหาสุขภาพเพิ่มเติมใดๆ ในระหว่างการดำน้ำครั้งที่สอง เขาจึงทิ้งความกังวลนี้ไป

จนมาถึงเหตุการณ์ของเย็นวันนั้น ขณะที่ John กำลังขึ้นบันไดไปยังชั้นห้าของโรงแรม อาการของเขาก็กำเริบขึ้นมาอีกครั้ง เขารู้สึกว่าหัวใจของเขาเต้นแรงมากจนผิดปกติ ภรรยาของเขาจึงช่วยจับชีพจร แต่มันก็เต้นเร็วมากจนไม่สามารถวัดค่าออกมาได้เลย

“ในตอนนั้นผมนึกขึ้นได้ว่า เออใช่ ผมเอา Garmin ของผมมาด้วยนี่” หลังจากนั้นเขาจึงเปิดดูข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจบนสมาร์ทวอทช์สำหรับดำน้ำ Garmin Descent Mk1 “อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 168 ครั้งต่อนาที จากนั้นผมก็ย้อนกลับไปดูอัตราการเต้นของหัวใจตอนที่ผมกำลังดำน้ำ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจในตอนนั้นเกือบ 160 ครั้งต่อนาที!” แต่ในตอนนั้นผมบอกกับตัวเองว่ารอดูไปก่อน John จึงออกไปทานข้าว แล้วค่อยกลับมาเช็คอีกทีเมื่อถึงโรงแรม แล้วเขาก็พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจยังสูงเกินปกติ โดยแกว่งไปมาอยู่ที่ประมาณ 130 ครั้งต่อนาที

นั่นคือตอนที่ John ตัดสินใจติดต่อ DAN (Divers Alert Network) กลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในการดำน้ำสำหรับนักดำน้ำทุกคน เพื่อสอบถามว่าอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับการที่เขาไปดำน้ำมาหรือไม่ เขายังไปดำน้ำได้ไหม ซึ่งแพทย์ที่รับโทรศัพท์แนะนำให้เขาตรวจร่างกายให้เรียบร้อยก่อนกลับไปดำน้ำอีกครั้ง

“ผมจึงรีบเดินทางไปโรงพยาบาลในเม็กซิโก พวกเขาตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และอัลตร้าซาวด์หัวใจให้ผม ทั้งยังตรวจหัวใจของผมด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ด้วย พวกเขาบอกว่าผมมีภาวะอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ แต่แพทย์ก็ยังอนุญาตให้ผมไปดำน้ำได้ หมออธิบายว่า “การอุดตันไม่ได้รุนแรงจนไม่สามารถดำน้ำได้” แพทย์ในเม็กซิโกวินิจฉัยว่าหลอดเลือดหัวใจของผมมีภาวะอุดตันประมาณ 80% และคิดว่าผมยังสามารถใช้เวลาที่เหลือของสัปดาห์นั้นในการดำน้ำได้อยู่” ผมได้ยินดังนั้น จึงกลับไปดำน้ำต่อ

John ทำตามคำแนะนำของแพทย์ แต่เมื่อเขากลับถึงบ้าน เขาก็ได้ไปพบแพทย์ประจำตัวและแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ และพบว่าอาการมันร้ายแรงกว่าที่เขาคิด “พวกเขาพบว่าหลอดเลือดหัวใจด้านซ้ายล่างของผมมีภาวะอุดตันสูงมากถึง 95% และผมน่าจะหยุดดำน้ำทันทีที่ตรวจพบอาการนี้” John ต้องใส่ขดลวด 2 อันเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจทันที “แพทย์ประจำตัวของผมบอกว่า ในตอนนั้นผมมีเวลาไม่ถึงหกเดือน ก่อนที่อาการหัวใจวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้น” John กล่าว “การอุดตันเกิดขึ้นในหลอดเลือดหัวใจ แพทย์เรียกการอุดตันชนิดนี้ว่า Widowmaker และบอกว่ามันมักจะไม่แสดงอาการ ซึ่งถือว่าผมโชคดีมากๆ ที่สังเกตเจอทันเวลา”

“ถ้าในตอนนั้นผมไม่มีข้อมูลจากสมาร์ทวอทช์สำหรับดำน้ำ Garmin ผมคงไม่รอด” ถ้าผมไม่ได้สวมสมาร์ทวอทช์เรือนนั้น ผมก็คงไม่มีข้อมูลอะไรมาเตือนให้ผมรู้ตัวว่า “เอ๊ะ อัตราการเต้นของหัวใจมันสูงกว่าปกติจริงๆ ในคืนที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นนั้น ผมนอนอยู่บนเตียงและคิดว่าผมต้องโทรหาแพทย์ประจำตัวของผมไหม ร่างกายผมมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า ซึ่งก็เป็นเพราะผมเข้าไปดูมือถือและสมาร์ทวอทช์แล้วพบข้อมูลที่ผิดปกตินี้ ผมจึงตัดสินใจเดินทางไปโรงพยาบาล โทรติดต่อเครือข่ายแจ้งเตือนนักดำน้ำ (Divers Alert Network) และทำการตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม Garmin ช่วยชีวิตผมไว้จริงๆ”

เพราะสมาร์ทวอทช์ Garmin ไม่เพียงแค่มาพร้อมกับโหมดกีฬาที่หลากหลาย แต่ยังมาพร้อมฟีเจอร์ที่คอยตรวจสอบสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง มีเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบออปติคัลมาพร้อมกับเครื่องมือในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่แสดงอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที

  1. อุปกรณ์นี้ไม่ใช่อุปกรณ์ทางการแพทย์และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวินิจฉัยหรือตรวจสุขภาพ